nairsza |
Posted : 25 ธ.ค. 2551 เวลา 11:11:38 IP :(58.8.117.24) |
|
|
|
 แหล่งควรแวะสักการะ
ความจริง อนุสาวรีย์และศาลของเสด็จเตี่ย กรมหลวงชุมพรฯนั้นมีเป็นจำนวนมาก ถึงขนาดที่พลเรือตรีกรีฑา พรรธนะแพทย์ สามารถเก็บรวบรวมเป็นหนังสือได้ 1 เล่ม เพราะครอบคลุมอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศไทย METRO LIFE แนะนำ 5 แหล่งที่ควรแวะสักการบูชา
สิ่งสักการะ ธูป 9 ดอก (หรือ 19 ดอก), เทียน 1 คู่ , ดอกกุหลาบสีแดง (จำนวนเดียวกับธูป)หรือพวงมาลัยที่มีกลิ่นหอม ดอกมะลิ หรือ ดอกเขี้ยวกระแต ก็ได้
พระคาถาบูชา (นโม 3 จบ) โอม ชุมพรจุตติ อิทธิการะนัง สุโข นะโมพุทธายะ นะมะพะทะ จะพะกะสะ มะอะอุ
พระอนุสาวรีย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระนคร วิทยาเขตพณิชยการพระนคร
เมื่อปี 2513 2514 ร.อ. สุวิทย์ ทัดพิทักษ์กุล ศิษย์เก่าพณิชยการพระนคร (บิดาของฮาร์ท สุทธิพงศ์ ทัดพิทักษ์กุล) ได้ริเริ่มหารือกับศาสตราจารย์ธรรมนูญ อัคคพานิช ผู้อำนวยการโรงเรียนพณิชยการพระนครเกี่ยวกับการสร้างอนุสาวรีย์ของพระองค์ท่าน ประดิษฐานไว้ที่หน้าวิทยาเขตเพื่อเป็นอนุสรณ์
อัศวิน พิชญโยธิน สถาปนิกออกแบบทั่วไป
อาจารย์สนั่น ศิลากร แห่งกรมศิลปากร ปั้นหุ่นพระรูป
ถวิล ศรีอินทร์คำ ช่างหล่อพระรูป
พิธีเททองพระอนุสาวรีย์ วันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515, พิธีประดิษฐานชั่วคราว ณ หน้ามุข อาคารเรียน 1 เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2516 , พิธีประดิษฐาน ณ แท่นหน้าวิทยาลัย วันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2516
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯเป็นประธานในพิธีเปิดพระอนุสาวรีย์ พลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ที่โรงเรียนพณิชยการพระนคร เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2519 ปีนี้ 2549 ครบ 30 ปีแห่งการเสด็จพระราชดำเนินเปิดพระอนุสาวรีย์ฯแห่งนี้ ปัจจุบันได้บูรณะพื้นที่บริเวณอนุสาวรีย์จนสวยงาม และสมพระเกียรติ
|
|
|
|
Comment : 23 |
|
|