คืนรังวังสน

พณิชยการพระนคร แห่งนี้ . . มีประวัติยาวนาน

เซียง เงี๊ยบ . . . . . ฮ้อ . . . . . . . .

วันที่ 19 ธันวาคม ที่หลาย คนจดจำได้ขึ้นใจ ตั้งแต่ คนเรือ ชาวประมง นักธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ลูกประดู่แห่งราชนาวีไทย และ ศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน ของพณิชยการพระนคร ด้วยรำลึกในพระคุณของ “เสด็จเตี่ย” “เสด็จพ่อ” ด้วยว่าวันนี้คือ “วันอาภากร”

พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพระเขตอุดมศักดิ์

อีกพระนาม "พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์"

"หมอพร" พระนามที่ชาวบ้านรู้จักกัน

“พระบิดาของกองทัพเรืองไทย"กองทัพเรือได้ประกาศ เทิดพระเกียรติ พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ และ ขนานพระนาม “พระบิดาของกองทัพเรืองไทย" ไว้ ณ วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๖ ด้วย พระองค์ท่านได้ทรงริเริ่ม วางรากฐาน กิจการทหารเรือ ทำให้ กองทัพเรือ มีความเจริญก้าวหน้า มาจนทุกวันนี้ และกำหนดให้วันที่ ๑๙ พฤษภาคม ของทุกปี อันเป็นวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ ของพระองค์ท่าน เป็น “วันอาภากร”

“วันอาภากร” ยังมีความสำคัญมากในจิตวิญญาณของ เหล่าศิษย์เก่า พณิชยการพระนคร หรือ พ.พ. หรือ มทร. พระนครในปัจจุบัน เพราะจะเป็นวันที่ เราชาว เซียง เงี๊ยบ ฮ้อ ยึดเป็นวันสำคัญเพราะพวกเราจะได้ กลับไปกราบ “เสด็จเตี่ย” หรือ “เสด็จพ่อ” อย่างน้อยหนึ่งครั้งในรอบปี

เยี่ยมเยียนที่ที่เคยได้ร่ำเรียน จนได้เติบโตในอาชีพการงานจนได้เป็นนักธุรกิจระดับสูงในองค์กรต่าง ๆ โรงเรียน หรือ มหาวิทยาลัย ที่เคยเล่าเรียนกันมา

กราบอาจารย์ ผู้เคยประสิทธิประสาทวิชาให้เป็นอาวุธไปสู้กับใคร ๆ ได้ในสมรภูมิ ธุรกิจ

พบปะเพื่อน ๆ เพราะเป็นวันที่จัดเป็นวันเลี้ยงสังสรรศิษย์เก่า รวมทุกรุ่นปี โดยที่รุ่นพี่ รุ่นน้องจะได้นำอาหาร เครื่องดื่ม มาร่วมเลี้ยงสังสรรกันในหมู่พี่น้อง..

เมื่อครั้งที่ยังเรียนอยู่ ปีแรกที่เพิ่งเข้าเรียน ไม่เคยรู้ถึงความสำคัญมาก่อน ได้แต่ งง งง ที่เมื่อถึงวันที่ 19 ธันวาคม โรงเรียนของเราดูจะยุ่งเหยิง หนาแน่นไปด้วยผู้คนมากมาย อย่างที่ไม่เคยเห็นมาก่อน . . . .

มาถึงวันนี้ครั้งใด ก็ให้หวนถึงความทรงจำที่ดีเมื่อครั้งยังเรียนอยู่... แต่เมื่อได้คิดถึงประวัติโรงเรียน.... ก็ให้รู้สึกแย่ที่เราเองยังจำประวัติโรงเรียนตัวเองไม่ได้เท่าไรนัก...

จึงอยากลำดับประวัติ พณิชยการพระนคร ออกมาในแบบ Timeline

วันที่ 27 พฤศจิกายน 2549 จัดตั้ง คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ประกอบด้วย 5 วิทยาเขต คือ วิทยาเขตเทเวศร์ วิทยาเขตโชติเวช วิทยาเขตพณิชยการพระนคร วิทยาเขตชุมพรเขตอุดมศักดิ์ และวิทยาเขตพระนครเหนือ

วันที่ 18 มกราคม 2548 "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล"

วันที่ 15 กันยายน 2531 "สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตพณิชยการพระนคร"

พ.ศ. 2518 "วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา"

วันที่ 1 พฤศจิกายน 2512 "วิทยาลัยพณิชยการพระนคร" (The Bangkok Commercial College)

วันที่ 20 ธันวาคม 2492 ก่อสร้างโรงเรียนพณิชยการพระนคร แล้วเสร็จ

รูปหล่อ พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพระเขตอุดมศักดิ์ ที่หน้ามุข

1 พฤศจิกายน 2491 จอมพล ป.พิบูลย์สงคราม วางศิลาฤกษ์ สถานที่ตั้งโรงเรียนอย่างถาวร เมื่อกรมอาชีวศึกษาซื้อที่ดินบริเวณ "วังสน" หรือ วังของกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ จากทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

เรือนหมอพร ที่เราจดจำได้ดี

“เรือนหมอพร” เป็นอาคารไม้สองชั้นหลังเล็กๆ ที่ตั้งตระหง่านอยู่ท่ามกลางอาคารเรียนสมัยใหม่ ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร วิทยาเขตพณิชยการพระนคร ซึ่งเป็นหลักฐานเพียงหนึ่งเดียวที่ยังหลงเหลืออยู่และบ่งบอกว่า ณ สถานที่แห่งนี้ ครั้งหนึ่งเคยเป็นวังที่ประทับของเจ้านายพระองค์สำคัญของสยาม เจ้านายผู้ได้รับการถวายพระสมัญญานามว่า “บิดาแห่งทหารเรือไทย” พระองค์คือ พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ โดยเรือนหลังนี้ เคยเป็นของหม่อมเมี้ยน อาภากร ณ อยุธยา ภายหลังเมื่อสิ้นสุดความเป็นวังแล้ว ในปี ๒๔๗๙ กรมอาชีวศึกษา ได้ซื้อที่ดินและใช้เป็นที่ทำการของสหกรณ์ “ร้านฝึกการค้า” ดำเนินการโดยนักเรียน

มีเรื่องเล่าว่า เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลก่อน เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดพระอนุสาวรีย์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ เมื่อปี ๒๕๑๙ ได้รับสั่งถามว่า “ยังมีสิ่งใดสมัยที่เป็นวังหลงเหลืออยู่บ้าง” ศาสตราจารย์ธรรมนูญ อัคคพานิช ผู้อำนวยการในขณะนั้น กราบทูลว่า “ยังมีเรือนหลังหนึ่งอยู่” มีพระราชกระแสรับสั่งว่า “ให้อนุรักษ์ไว้”

สำหรับที่เรียกว่า “เรือนหมอพร” นั้น เพราะอาคารหลังนี้เคยใช้เป็นเรือนพยาบาล จึงนำพระนามของเสด็จในกรมที่ราษฎรเรียกขานพระองค์ว่า “หมอพร” มาเป็นนามของเรือน เนื่องจากเมื่อยังทรงพระชนม์อยู่ ทรงสนพระทัยในด้านการแพทย์แผนโบราณและได้ทรงรักษาผู้เจ็บไข้ได้ป่วย โดยไม่คิดค่ารักษาพยาบาล ชาวบ้านจึงเรียกพระองค์ว่า “หมอพร”

ศาลาแดง ที่หลายคนมีประวัติอยู่ที่แห่งนี้

พ.ศ. 2490 ย้ายไปอาศัยเรียนอยู่ที่ "โรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวาย" ชั่วคราว

พ.ศ. 2488 กลับมาอยู่ที่วังบูรพาภิรมย์อีกครั้งหนึ่ง“พ.ศ. 2487 ย้ายไปอยู่ที่ "วังจันทร์เกษม" จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

พ.ศ. 2483 ใช้ชื่อ "โรงเรียนพณิชยการพระนคร" หลังจากรวมกับ โรงเรียน พณิชยการวัดเทวราชกุญชร ย้ายสถานที่ตั้งจากเดิมมาอยู่ที่ "โรงเรียนภาษาต่างประเทศวัดบพิตรพิมุข" โดยมีนายทวีสวัสดิ์ บุญหลง

พ.ศ. 2481 โรงเรียนพณิชยการวัดสามพระยา ย้ายไปอยู่ที่วัดเทวราชกุญชรและเปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนพณิชยการวัดเทวราชกุญชร"

พ.ศ. 2478 ผนวกกับเข้ามาเรียน ในสถานที่เดียวกัน โรงเรียนพณิชยการวัดสามพระยา

พ.ศ. 2472 การเรียนชั้นต้น เรียนที่โรงเรียนวัดมหาพฤฒาราม การเรียนชั้นสูง ยังคงอยู่ที่ โรงเรียนพณิชการวัดแก้วฟ้าล่าง

พ.ศ. 2449 โรงเรียนพณิชยการวัดแก้วฟ้าล่าง เมื่อยุบรวมกับ โรงเรียนพณิชยการวัดราชบูรณะ

พ.ศ. 2445 โรงเรียนพณิชยการวัดมหาพฤฒาราม

พ.ศ. 2443 โรงเรียนประถมศึกษาพิเศษภาษาอังกฤษวัดสัมพันธวงศ์ นาย เอ็ม วี นาธาน เป็นผู้อำนวยการท่านแรก

ขอภูมิใจเล็ก ๆ ที่ได้มีโอกาสรู้จัก ส่วนหนึ่งของ รากเหง้าตัวเองดีขี้นในวันนี้