+ เพลงบูชาพระรัตนตรัย   +

โย โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ,
( พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ไกลจากกิเลส เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้ด้วยพระองค์เอง )

สวากขาโต เยนะ ภะคะวะตา ธัมโม,
( พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ตรัสไว้ดีแล้ว )

สุปะฏิปันโน ยัสสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
( พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ใด ปฏิบัติดีแล้ว )

ตัมมะยัง ภะคะวันตัง สะธัมมัง สะสังฆัง
อิเมหิ สักกาเรหิ ยะถาระหัง อาโรปิเตหิ อะภิปูชะยามะ,
( ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอบูชาอย่างยิ่งซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์
ด้วยเครื่องสักการะทั้งหลายเหล่านี้ อันยกขึ้นไว้ตามสมควรแล้วอย่างไร )

สาธุ โน ภันเต ภะคะวา สุจิระปะรินิพพุโตปิ,
( ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ปรินิพพานนานแล้ว ทรงสร้างคุณอันสำเร็จประโยชน์ไว้แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย )

ปัจฉิมาชะนะตานุกัมปะมานะสา,
( ทรงมีพระหฤทัยอนุเคราะห์แก่พวกข้าพเจ้า อันเป็นชนรุ่นหลัง )

อิเม สักกาเร ทุคคะตะปัณณาการะภูเต ปะฏิคคัณหาตุ,
( ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงรับเครื่องสักการะ อันเป็นบรรณาธิการของคนยากทั้งหลายเหล่านี้ )

อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ ฯ
( เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งลาย ตลอดกาลนานเทอญ )

คำนมัสการพระรัตนตรัย

อะระหัง สัมมาสัมพุธโธ ภะคะวา,
( พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นพระอรหันต์ ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง )

พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ,
( ข้าพเจ้าอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ) (กราบ),

สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, ธัมมัง นะมัสสามิ,
( พระธรรม เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดีแล้ว, ข้าพเจ้านมัสการพระธรรม ) (กราบ)

สุปะฎิปันโณ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สังฆัง นะมามิ
( พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปฏิบัติดีแล้ว, ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์ ) (กราบ)
 
บทสวดนมัสการนอบน้อมบูชาพระพุทธเจ้า
 
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ฯ (3 ครั้ง )
( ขอนอบน้อมต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้ไกลจากกิเลส เป็นผู้ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง ฯ )

บทสรรเสริญ พระพุทธคุณ

อิติปิ โส ภะคะวา ( เพราะเหตุอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น )
อะระหัง ( เป็นผู้ไกลจากกิเลส ) สัมมาสัมพุทโธ ( เป็นผู้ตรัสรู้ชอบโดยพระองค์เอง )
วิชชาจะระณะสัมปันโน ( เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ )
สุคะโต ( เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี ) โลกะวิทู ( เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง )
อะนุตตะโร ปุริสสะธัมมะสาระถิ ( เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้ อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า )
สัตถาเทวะมนุสสานัง ( เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย )
พุทโธ ( เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม ) ภะคะวาติ. ( เป็นผู้มีความเจริญจำแกธรรมสั่งสอนสัตว์ ดังนี้ )

บทสรรเสริญ พระธรรมคุณ

สวากขาโต ภะคะวา ธัมโม ( พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว )
สันทิฏฐิโก ( เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง )
อะกาลิโก ( เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล )
เอหิปัสสิโก ( เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิด )
โอปะนะยิโก ( เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว )
ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ. ( เป็นสิ่งที่ผู้รู้ พึงรู้ได้เฉพาะตน ดังนี้ ฯ )

บทสรรเสริญ พระสังฆคุณ

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ( สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติดีแล้ว )
อุชุปฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ( สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติตรงแล้ว )
ญายะปฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
( สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว )
สามีจิปฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ( สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติสมควรแล้ว )
ยะทิทัง ( ได้แก่บุคคลเหล่านี้คือ )
จัตตาริ ปุริสสะ ยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา ( คู่แห่งบุรุษสี่คู่ นับเรียงตัวได้แปดบุรุษ )
เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ( นั่นแหละ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า )
อาหุเนยโย ( เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา )
ปาหุเนยโย ( เป็นผู้ควรแก่สักการะที่จัดไว้ต้อนรับ )
ทักขิเนยโย ( เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน )
อัญชะลีกะระนีโย ( เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี )
อะนุตตะรัง ปุญญะเขตตัง โลกัสสาติ.